อาชีพข้าราชการครูนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในอาชีพที่หลายคนให้ความสนใจ และอยากที่จะสมัครสอบเพื่อบรรจุเข้าเป็นข้าราชการครูกันอย่างมากมาย ซึ่งตำแหน่งที่เปิดรับสมัครนั้นก็จะเป็นตำแหน่ง ครูผู้ช่วย จึงทำให้ให้หลายคนอาจจะสงสัยว่า ตำแหน่งครูผู้ช่วย กับ ตำแหน่ง ครู มันต่างกันมั้ย?
วันนี้เราก็ได้ไปหาข้อมูลมาไขข้อสงสัยกันว่าตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กับ ครู นั้นแตกต่างกันรึเปล่า ทำไมต้องใช้คำว่าครูผู้ช่วย ไม่ใช้คำว่าครูไปเลย ใครที่กำลังสงสัยกันอยู่ เรามีคำตอบมาให้แล้ว
ไขข้อสงสัย ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กับ ครู ต่างกันมั้ย ทำไมใช้ ครู ไปเลย
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นบุคลากรของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในราชการไทย ในอดีตมีชื่อเรียกว่า ข้าราชการครู ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการครูที่สังกัดการปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ข้าราชการครูองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานครูเทศบาล และพนักงานครูองค์การบริหารส่วนตำบล
ตำแหน่ง ครู นั้น จะจัดอยู่ในหมดหมู่ ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา
โดยแบ่งได้ 2 ประเภทคือ ครูผู้ช่วย และ ครู
- ครูผู้ช่วย เป็นตำแหน่งที่บรรจุแต่งตั้งในระดับแรก (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 5 เดิม)
- ครู คศ. 1 (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 6 เดิม)
- ครู คศ. 2 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการ โดยแต่งตั้งจากครู คศ. 1 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 7 เดิม)
- ครู คศ. 3 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ แต่งตั้งจากครู คศ. 2 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 เดิม)
- ครู คศ. 4 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ แต่งตั้งจากครู คศ. 2 หรือ คศ. 3 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 9 เดิม)
- ครู คศ. 5 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ แต่งตั้งจากครู คศ. 4 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ ระดับ 10 ซึ่งในอดีตไม่เคยมีมาก่อน โดยได้รับการขยายให้สูงขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ในมาตรา 39 ให้เทียบเท่าอธิบดีกรมหรือรองเลขาธิการ)
โดยคำว่า ครู คศ. มีความหมายว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ครูผู้ช่วยก็คือครูเช่นเดียวกัน แต่เป็นตำแหน่งที่บรรจุในระดับแรก ที่สามารถเลื่อนระดับเป็น ครู คศ. ได้ในอนาคตนั่นเอง