จากกรณี นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที 28 พ.ย. 66 อนุมัติ ปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรีจะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายในระยะเวลา 2 ปี นั้น ในวันที่ 1 พ.ค. 67 คือวันที่มติดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เป็นวันแรก
ส่งผลให้การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ จะทยอยปรับตามคุณวุฒิ ภายใน 2 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 พ.ค. 67
ปวช.
ปัจจุบัน : 9,400-10,340
ปีที่ 1 : 10,340-11,380
ปีที่ 2 : 11,380-12,520
ปวส.
ปัจจุบัน : 11,500-12,650
ปีที่ 1 : 12,650-13,920
ปีที่ 2 : 13,920-15,320
ปริญญาตรี
ปัจจุบัน : 15,000-16,500
ปีที่ 1 : 16,500-18,150
ปีที่ 2 : 18,150-19,970
ปริญญาโท
ปัจจุบัน : 17,500-19,250
ปีที่ 1 : 19,250-21,180
ปีที่ 2 : 21,180-23,300
ปริญญาเอก
ปัจจุบัน : 21,000-23,100
ปีที่ 1 : 23,100-25,410
ปีที่ 2 : 25,410-27,960
หากหน่วยงานใดดำเนินการปรับไม่ทัน การปรับขึ้นเงินเดือนจะให้มีผลย้อนหลัง
นอกจากนี้ ในเดือน พ.ค. 67 กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จะจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้าง ลูกจ้างประจำ เข้าบัญชี 2 รอบ ได้แก่
รอบแรก วันที่ 16 พ.ค. 67
รอบที่ 2 วันที่ 28 พ.ค. 67
ส่วนข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ไม่แสดงความประสงค์รับเงินเดือน 2 รอบ จะได้รับเงินเดือนในรอบที่ 2 ของเดือนนั้น
อย่างไรก็ตาม ครม. ยังได้ออกพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567 ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที 17 เม.ย. 67 ที่ผ่านมา สาระสำคัญคือการปรับปรุงอัตราเงินเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับ หรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ
เมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วต่ำกว่าเดือนละ 11,000 บาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นตามอัตราที่กำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น และการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ โดยจะมีผลในวันที่ 1 พ.ค. 67 เช่นกัน
โดยการจ่ายเงินบำนาญรายเดือนของผู้รับบำนาญประจำเดือน พ.ค. 67 จะจ่ายในวันที่ 24 พ.ค. 67