September 19, 2024

กรมอนามัย เตือนคนชอบดื่ม”ชานม” เสี่ยงเกิดนิ่วในไต หนักสุด”มะเร็งลำไส้”

 

 

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ออกมาเตือนดื่มชานม ดื่มชาใส่นมชงหวานทุกประเภท เสี่ยงเกิดนิ่วในไต และหนักสุดถึงขั้น”มะเร็งลำไส้”

กรณีในโลกออนไลน์ มีการแชร์ข้อมูลเตือนด้านสุขภาพเรื่องดื่มชาใส่นมชงหวานทุกประเภท เสี่ยงเกิดนิ่วในไต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็น”ข้อมูลจริง”

จากการตรวจสอบ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ชา ไม่ว่าจะเป็นชาร้อนหรือชาเย็น ล้วนเป็นเครื่องดื่มที่หลายคนดื่มแทบจะทุกวัน และแทบจะขาดไม่ได้เช่นกัน หากดื่มชาไม่ถูกวิธี หรือไม่มีความระมัดระวังในการดื่ม อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากมาย ดังนี้

1. การดื่มน้ำชาที่ร้อนจัด ความร้อนของน้ำจะทำลายสารคาเทคชินส์ (Catechins) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในการต้านมะเร็ง หรือชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายไปจนหมด

2. การดื่มชาเขียวบรรจุขวดที่ผ่านกระบวนการต้ม และฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อนบรรจุขวด ทำให้สารอาหารสำคัญของชาถูกทำลาย หรือลดน้อยลงไปเช่นกัน

กรมอนามัย เตือนคนชอบดื่ม\"ชานม\" เสี่ยงเกิดนิ่วในไต หนักสุด\"มะเร็งลำไส้\"

3. การดื่มชาใส่นม ไม่ว่าจะเป็นชาร้อนหรือชาเย็น ก็ไม่สามารถให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้เช่นกัน เพราะโปรตีนในนมจะเข้าไปจับกับสารสำคัญในชา และทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เรียกได้ว่า แทบไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ จากการดื่มชาใส่นมเลย

4. ดื่มชาควบคู่ไปกับการทานวิตามินเสริม สารสำคัญในชาจะตกตะกอนธาตุเหล็ก หรือเกลือแร่ไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

5. ดื่มชาควบคู่ไปกับการทานอาหาร แร่ธาตุต่าง ๆ จากผักใบเขียว และผลไม้จะถูกสารสำคัญจากชาจับไว้ ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเช่นเดียวกัน

6. เด็กที่ดื่มชา จะถูกสารสำคัญอย่างแทนนินเข้าไปตกตะกอนโปรตีน และแร่ธาตุจากอาหารที่ทานไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงเสี่ยงภาวะขาดสารอาหารได้

กรมอนามัย เตือนคนชอบดื่ม\"ชานม\" เสี่ยงเกิดนิ่วในไต หนักสุด\"มะเร็งลำไส้\"

7.ในชายังมีปริมาณของฟลูออไรด์ที่ค่อนข้างสูง สูงกว่าในน้ำประปา หากดื่มชาเป็นประจำอาจเกิดการสะสมจนทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคไตวาย มะเร็งลำไส้ กระดูกพรุน โรคข้อ และโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก รวมไปถึงกรดออกซาลิกที่อาจทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อโรคนิ่วในไตอีกด้วย เพราะชาเย็นมีกรดออกซาลิก ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วในไตได้จริง

เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.Akamai.moph.go.th หรือ โทร. 02-590-4000

cr.antifakenewscenter

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *