November 23, 2024

ปตท.เปิดผลกำไร แค่ครึ่งปี อู้ฟู่มาก

 

เมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ถึงผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2567 และงวดครึ่งปี 2567

โดยผลประกอบการครึ่งปีแรก 2567 นั้น ปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 1,604,222 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จำนวน 69,254 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 จากในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ที่จำนวน 1,534,968 ล้านบาท โดยกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น จากราคาขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันอ้างอิง และปริมาณขายสูงขึ้นโดยหลักจากปริมาณการค้าน้ำมันสำเร็จรูปและแอลพีจี ระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น

กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมีรายได้เพิ่มขึ้น จากธุรกิจการกลั่น เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าปริมาณการขายลดลง รวมทั้งธุรกิจปิโตรเคมีรายได้จากการเพิ่มขึ้นจากกลุ่มโอเลฟินส์ ที่มีปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีรายไดจ้ากการขายเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากปริมาณขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยปรับลดลงลง อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีรายได้จากการขายลดลง โดยหลักจากธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซฯ จากราคาขายเฉลี่ยปรับลดลงตามราคา Pool Gas เนื่องจากราคา Spot LNG ปรับตัวลดลงและการนำ Shortfall ของแหล่งก๊าซฯ ในอ่าวไทย จ านวน 4,300ล้านบาท มาคำนวณเป็นส่วนลดราคา Pool Gasตามคำสั่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)รวมถึงมีการปรับอัตราค่าบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติตามมติกกพ. ซึ่งมีผลบังคับใช้ต้ังแต่วันที่ 1 มีนาคม 2567 ประกอบกับราคาขายให้กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมลดลงตามราคาอ้างอิง แม้ว่าปริมาณขายก๊าซฯ เฉลี่ยเพิ่มขึ้น

ขณะที่ธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ มีรายไดจ้ากการขายเพิ่มขึ้นจากราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากปริมาณการจองใช้ท่อส่งก๊าซฯ ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกมีรายได้จากการขายลดลงเช่นกันจากปริมาณขายที่ปรับลดลง แม้ว่าราคาขายปรับสูงขึ้น

ในครึ่งปีแรก 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้(EBITDA) จำนวน 234,051ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 37,418ล้านบาท หรือร้อยละ 19.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 196,633 ล้านบาท โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิ โตรเคมีและการกลั่น ธุรกิจการกลั้นมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาตากการสต๊อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสต๊อกน้ามัน ในช่วงครึ่งปีแรก 2567 ประมาณ 5,000 ล้านบาท ขณะที่ในครึ่งปีแรกปี 2566 มีผลขาดทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท ขณะที่กำไรขั้นต้นจากการกลั่นลดลงจาก 6.3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในครึ่งปีแรก 2566 เป็น เป็น 5.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปีนี้ จากส่วนต่างราคาน้ำมันอากาศยาน น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน กับน้ำมันดิบปรับลดลงรวมท้ั้งปริมาณขายลดลงธุรกิจปิโตรเคมีมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยหลักจากกลุ่มโอเลฟินส์จากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์เอทิลีน กับวัตถุดบปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งประมาณการขายที่เพิ่มขึ้น และกลุ่มอะโรเมติกส์ จากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์เบนซีน (Benzene: BZ)กับวตัถุดิบเพิ่มขึ้นแม้ว่าปริมาณขายลดลง กลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดำ เนินงานเพิ่มขึ้นจากปริมาณขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยปรับลดลง ผลการำเนิงานของกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นเช่นกัน

โดยหลักจากธุรกิจ NGV มีผลขาดทุนลดลงจากต้นทุนเนื้อก๊าซฯ ที่ปรับลดลงตามราคาPool Gas ประกอบกับราคาขายที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มลูกค้า และปริมาณขายโดยรวมที่ลดลงตามปริมาณรถ NGV สะสมที่น้อยลง และ บริษัทย่อยในกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดำเนินงานดีขึ้น โดยหลักจาก บริษัท ปตท. จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด (PTTNGD) มีผลการดำาเนินงานดีขึ้นตามต้นทุนก๊าซฯ ที่ปรับลดลง และราคาขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ มีผลการดำเนินงานลดลงจากต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากได้มีการใช้นโยบาย Single Pool ในการคำนวณราคาก๊าซฯ โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567

ในครึ่งปีแรก 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 64,437 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,475 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 34.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิจำนวน 47,962 ล้านบาท จาก EBITDA ที่เพิ่มขึ้น ตามกล่าวข้างต้น ประกอบกับในครึ่งปีแรกมีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ (Non-recurring Items) สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นกำไรประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยหลักจากกำไรจากการขายเงินลงทุนใน Alvogen Malta(Out-licensing) Holding Ltd. (AMOLH) กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ให้ บริษัท พีอี แอลเอ็นจี จำกัด (PELNG)ของ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG) และ กำไรจากการซื้อคืนหุ้นกู้ของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) และ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) ขณะที่ใน 1H2566 มีผลกำไรประมาณ 200 ล้านบาท โดยหลักจากกำไรจากการซื้อคืนหุ้นกู้ของ GC และ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) แม้ว่ามีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและตราสารอนุพันธ์เพิ่มขึ้น

ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2567เปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2566

ในไตรมาส 2 ปี 2567 (2Q2567) ปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 821,943 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 43,785 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.6จากไตรมาส 2 ปี 2566 (2Q2566) ที่จำนวน 778,158 ล้านบาท โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศจากราคาขายที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณขายลดลงส่วนใหญ่จากการค้าน้ำมันดิบระหว่างประเทศและ LNG นำเข้าอีกทั้งกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น และกลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีรายได้เพิ่มขึ้นจากทั้งปริมาณขายเฉลี่ยและราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีรายได้จากการขายลดลง โดยหลักจากธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซฯ เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยปรับลดลงตามราคา Pool Gas ประกอบกับราคาขายเฉลี่ย ให้กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมปรับลดลงตามราคาอ้างอิงรวมทั้งปริมาณขายลดลง แม้ว่าธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากราคาขายโดยเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณขายเพิ่มขึ้นตามความต้องการของลูกค้ำปิโตรเคมีที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซฯ มีรายไดเ้พิ่มขึ้นจากปริมาณการจองใช้ท่ส่งก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของลูกค้า

ในไตรมาส 2 ปี 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีEBITDA จำนวน 115,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22,709 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.5 จากใน 2Q2566 ที่จำนวน 92,625 ล้านบาท โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ที่มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากปริมาณขายเฉลี่ยและราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น โดยธุรกิจปิโตรเคมีมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นทั้งจากกลุ่มโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ โดยกลุ่มโอเลฟินส์เพิ่มขึ้นจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์เอทิลีนกับวัตถุดิบ รวมทั้งปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น และกลุ่มอะโรเมติกส์เพิ่มขึ้นจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ BZ กับวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น

สำหรับธุรกิจการกลั่นมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยหลักจากกำไรสต๊อกน้ามัน ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปตท.และบริษัทย่อยมีกำไรสต๊อกน้ำมันใน 2Q2567 ประมาณ 3,000 ล้านบาท ขณะที่ใน 2Q2566 มีผลขาดทุนประมาณ 4,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม Market GRM ลดลงจาก 4.1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลใน 2Q2566 เป็ น 3.0 เหรียญ สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลใน 2Q2567 โดยหลักจากส่วนต่างราคาน้า มันเบนซิน น้ามัน ดีเซลและน้ำมันอากาศยานกับน้ำมันดิบปรับลดลงอย่างไรก็ตามกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดำเนินงานลดลง โดยหลักจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ที่มีต้นทุนขายเพิ่มขึ้นจากนโยบาย Single Pool แม้ว่าราคาขายโดยเฉลี่ยและปริมาณขายเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซฯ มีกำไรขั้นต้นลดลงจากรายได้ที่ลดลงแม้ว่าต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯปรับลดลงตามราคา Pool Gas อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ NGV มีผลขาดทุนลดลงจากต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯ ที่ปรับลดลงตามราคา Pool Gas และปริมาณขายโดยรวมลดลง และธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซฯ มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากรายได้ที่เพิ่มึ้นตามปริมาณการจองใช้ท่อส่งก๊าซที่เพิ่มขึ้น

ใน 2Q2567 ปตท. และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิจำนวน 35,469 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15,362 ล้านบาท หรือร้อยละ 76.4 จากใน 2Q2566 ที่จำนวน 20,107ล้านบาท ตาม EBITDA ที่เพิ่มขึ้นตามกล่าวข้างต้น ประกอบกับใน 2Q2567 มีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ(Non-recurring Items) สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นกำไรประมาณ 5,400 ล้านบาท โดยหลักจากกำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ให้ PE LNG ของ PTTLNG และกำไรจากการซื้อคืนหุ้นกู้ของ GC และ TOPขณะที่ ใน 2Q2566 มีผลกำไรประมาณ 300ล้านบาท โดยหลักจากกำไรจากการซื้อคืนหุ้นกู้ของ PTTEPและ GC

ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2567เปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2567

ใน 2Q2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 821,943 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จำนวน 39,664 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.1จาก ไตรมาส 1 ปี 2567(1Q2567) ที่จำนวน 782,279ล้านบาท โดยหลักจากรายได้จากการขายของกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ จากราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมีรายไดจ้ากการขายเพิ่มขึ้น จากธุรกิจปิโตรเคมีตามราคาขายและปริมาณขายที่เพิ่มสูงขึ้นอีกทั้งกลุ่มธุรกิจการกลั่น มีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นตามปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้านอกขึ้น แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยปรับลดลง ประกอบกับ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีรายไดจ้ากการขายเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ที่ปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ประกอบกับประกอบกับธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซฯ ที่ปริมาณขายก๊าซฯ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นน แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยปรับลดลงตามราคาPool Gas

ใน 2Q2567 ปตท. และบริษัทย่อยมี EBITDA มีจำนวน 115,334 ล้านบาท ลดลง 3,383 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 2.8 จากใน 1Q2567 ที่จำนวน 118,717ล้านบาท โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น โดยธุรกิจการกลั่นมีผลการดำเนินงานลดลงตาม Market GRM ที่ลดลงจาก 7.9 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลใน 1Q2567เป็น 3.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลใน 2Q2567 ส่วนใหญ่จากส่วนต่างราคาน้า มันอากาศยานน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน กับน้ำมันดิบปรับลดลงแม้ว่าปริมาณขายเพิ่มขึ้น ขณะที่กำไรจากสต๊อกน้ำมันของ ปตท. และบริษัทย่อย ใน 2Q2567 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ ประมาณ 3,000ล้านบาท กลุ่มธุรกิจก๊าซ ธรรมชาติมีผลการดำเนินงานลดลง

โดยหลักจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ตามต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้นจากการเริ่มคำนวณราคาก๊าซฯ ตามนโยบาย Single Pool แม้ว่าปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ขณะที่ธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซฯ มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงต้นทุนเนื้อก๊าซฯ ปรับลดลงตามราคา Pool Gas นอกจากนนี้กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกมีผลการดำเนินงานปรับลดลงเช่นกัน จากธุรกิจน้ำมัน ที่กำไรขั้นต้นเฉลี่ยต่อลิตรของเบนซิน และดีเซลปรับลดลงอย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดำเนินงานดีขึ้น จากปริมาณขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยปรับลดลง ใน 2Q2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 35,469 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,501 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 22.4 จากใน 1Q2567 ที่จำนวน 28,968 ล้านบาท โดยหลักจากผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และ ตราสารอนุพันธ์เพิ่มขึ้น

รวมทั้งใน 2Q2567 มีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ (Non-recurring Items) สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นกำไรประมาณ 5,400 ล้านบาท ตามกล่าวข้างต้น ขณะที่ ใน 1Q2567 มีผลกำไรประมาณ 4,500 ล้านบาท โดยหลักจากกำไรจากการขายเงินลงทุนใน AMOLH แม้ว่า EBITDA ปรับลดลงตามกล่าวข้างต้นฐานะการเงินของ ปตท. และบริษัทย่อย ณ 30 มิถุนายน 2567 ปตท. และบริษัทย่อย ณ 30 มิถุนายน 2567 มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้นจ านวน 3,618,417ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 157,955 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.6จาก ณ 31ธันวาคม 2566 ที่มีสินทรัพย์รวมจ านวน 3,460,462ล้าน บาท โดยหลักจากสินค้าคงเหลือและลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้น จากปัจจัยทั้งด้านปริมาณและราคาที่เพิ่มขึ้น เงินให้กู้ยืมระยะยาวเพิ่มขึ้น โดยหลักจากเงินให้กู้แก่ Renewable Energy Seagreen Holdco Limited (RESH)ของPTTEP และ PE LNG ของ บริษัท ปตท. ศูนย์บริหารเงิน จำกัด (PTT TCC) เงินลงทุนระยะยาวที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนสถานะเงินลงทุนใน PE LNG จากบริษัทย่อยเป็นการร่วมค้า และที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น

โดยหลักจากสินทรัพย์เพื่อการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในโครงการ Ghasha โครงการ G1/61และ G2/61 ของ PTTEP และงานระหว่างก่อสร้างในโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP) ของ TOPแม้ว่ามีการขายสินทรัพย์ LNG Receiving Terminal แห่งที่ 2 (LMPT2)ของ PTTLNG ให้ PE LNG

ณ 30 มิถุนายน 2567 มีหนี้สินรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,901,326 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 65,840 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.6จาก ณ 31ธันวาคม 2566 ที่มีหนี้สินรวมจำนวน 1,835,486 ล้านบาท โดยหลักจากเจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้นตามปริมาณซื้อและราคาที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นโดยหลักจากการกู้ยืมระยะสั้น และหนี้สินตามสัญญาเช่าที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ณ 30 มิถุนายน 2567 มีส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 1,717,091ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 92,115 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.7 จาก ณ 31ธันวาคม 2566 ที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 1,624,976 ล้านบาท โดยหลักจากกำไรสุทธิของ ปตท. และบริษัทย่อยใน 1H2567 สุทธิเงินปันผลจ่ายสำหรับผลการดำเนินงานช่วงครึ่งหลังของปี 2566 นอกจากนี้องค์ประกอบอื่นของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นโดยหลักจากผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน รวมทั้งส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมเพิ่มขึ้นจากผลการดำเนินงานที่เป็นกำไรของบริษัทย่อยและผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *